สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปิดบริการ VPN สำหรับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบัน เพื่อใช้เป็นสื่อในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานจาก Modem, ADSL, WiFi, 3G หรือบริการจาก ISP ต่าง ๆ จากภายนอกให้สามารถใช้บริการสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ได้ หรือใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ IP Address ของสถาบัน โดยก่อนเข้าใช้งานระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งาน ดังนี้
- นักศึกษา ใช้ NetID เพื่อเข้ารับบริการ
- อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ใช้ user account เพื่อเข้ารับบริการ
สามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่เจ้าหน้าที่ Help desk (662) 727-3777
NIDA UApp หรือ NIDA University Application
โดย NIDA UApp เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบัน กับธนาคารกรุงไทย เป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงระบบหรือสารสนเทศต่างๆบนอุปกรณ์พกพา ที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งในขั้นแรกได้เปิดการใช้งานแล้วคือส่วนของVirtual ID ใช้แทนบัตรนักศึกษาเพื่อใช้บริการด้านต่างๆ ของสถาบัน และส่วนของ News & Event การอัปเดตข่าวสารและ กิจกรรมภายในรั้วสถาบัน นอกจากนี้ NIDA UApp ยังสามารถเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาในการชำระเงินผ่าน QR Code ที่ร้านค้า จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษาทุกท่าน ดาวน์โหลด NIDA UApp มาใช้งานเพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ จากธนาคารกรุงไทย
Install NIDA UApp
สำหรับระบบปฏิบัติการ Android
สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS
หากมีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ Help desk อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 9 โทร. (662) 727-3777
สถาบันได้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้บริการ จำนวน 4 ห้อง แบ่งเป็นห้องที่ใช้ในการเรียนการสอน 3 ห้อง และสำหรับให้นักศึกษาทำงาน (walk-in) 1 ห้อง แต่ในกรณีที่ห้อง walk-in เต็ม และห้องอื่นไม่มีการเรียนการสอน จะเปิดให้นักศึกษาเข้าใช้งานได้เช่นกัน
วันเวลาที่เปิดให้บริการ
ห้อง | ที่ตั้ง | วัน-เวลาให้บริการ | |
LAB 1 (walk-in) | อาคารสยามบรมกุราชกุมารี | ชั้น 9 |
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 18.30 |
LAB 2 | |||
LAB 3 |
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 - 17.30 |
||
LAB 4 | ชั้น 10 |
นักศึกษาสามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการได้โดย log in ด้วยNetID ที่ได้รับ (@stu.nida.ac.th)
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในห้องปฏิบัติการอนุญาตให้บันทึกข้อมูลไว้ได้เพียง ชั่วคราวเท่านั้น จึงขอแนะนำให้นักศึกษานำสื่อบันทึกข้อมูลมาด้วย ห้องปฏิบัติการมีไว้เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษา ตลอดจนการทำรายงานประกอบการศึกษาเท่านั้น นักศึกษาต้องไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการเพื่อการอื่น รวมถึงกิจกรรมอื่นที่ผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม
หากพบว่ามีการใช้ คอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการไปในทางที่ไม่ถูกต้อง สถาบันสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าใช้ห้องปฏิบัติการอีกต่อไป
ประกาศ : นโยบายและแนวปฏิบัติการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
นโยบายการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวปฏิบัติการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปิดให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Computer Lab 2 และ Computer Lab 3 ) ในช่วงการปรับปรุงพื้นที่ มกราคม - มิถุนายน 2566
IDT จัดอบรมวิธีการใช้งานระบบ i-Thesis ให้แก่นักศึกษา แบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams เดือนกันยายน 2565
Computer Labs is Now Open! เริ่ม 13 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป Walk-in Lab เปิดวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
การสอบจัดระดับความรู้ความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติของสถาบัน หมายถึง การสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิสก์(e-Testing) ตามชุดวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยนักศึกษาทุกคนต้องเข้ารับการสอบจัดระดับความรู้ความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์ ตามประกาศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่องเกณฑ์การสอบจัดระดับความรู้ความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติ ลงวันที่ 23 เมษายน 2551 กำหนดไว้ดังนี้
1) ชุดวิชาที่ 1 Computer Literacy มีเนื้อหาประกอบด้วย Basic Concept of IT, Word processing, Spreadsheets, Presentation, Internet & E-mail กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องทดสอบชุดวิชาที่ 1 ให้ผ่านก่อนสำเร็จการศึกษา โดยสามารถเข้ารับการทดสอบได้ตั้งแต่ภาคเรียนแรกที่ลงทะเบียน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการสอบ หากสอบไม่ผ่านจะต้องเข้ารับการทดสอบจนกว่าจะสอบผ่าน และเสียค่าธรรมเนียมในการสอบครั้งต่อไป ซึ่งผลการสอบดังกล่าวจะบันทึกในใบรับรองผลการศึกษาของนักศึกษา
2) ชุดวิชาที่ 2 Computer Competency แบ่งการทดสอบเป็นรายวิชาจำนวน 3 วิชา ประกอบด้วย
a. Word processing
b. Presentation
c. Internet & E-mail
3) ชุดวิชาที่ 3 Computer Proficiency แบ่งการทดสอบเป็นรายวิชา จำนวน 3 วิชา ประกอบด้วย
a.Spreadsheets
b. Database
c. Information System
การทดสอบชุดวิชาที่ 2 และ 3 เป็นไปตามความสมัครใจ โดยผู้สมัครจะสมัครสอบชุดวิชาที่ 2 จะต้องสอบผ่านชุดวิชาที่ 1 ก่อน และผู้ที่จะสมัครสอบชุดวิชาที่ 3 จะต้องสอบผ่านชุดวิชาที่ 2 ก่อน เมื่อนักศึกษาสอบผ่านในชุดวิชาใดจะได้รับใบรับรองผลสำหรับการสอบของชุดวิชานั้น
หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของนักศึกษาในการสมัครสอบจัดระดับ
นักศึกษาระดับปริญญาโทภาคปกติของสถาบันทุกคนจะต้องผ่านการสอบจัดระดับก่อนการสำเร็จ
การศึกษา ซึ่งการสอบจัดระดับมีความสอดคล้องกับการสอบประมวลความรู้ของแต่ละคณะ โดยแต่ละคณะมีหลักเกณฑ์เข้ารับการสอบแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้
1) นักศึกษาที่สอบจัดระดับฯ ไม่ผ่าน สามารถสอบประมวลความรู้ได้ มีจำนวน 5 คณะ คือ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะภาษาและการสื่อสาร และคณะการจัดการการท่องเที่ยว
2) นักศึกษาที่สอบจัดระดับฯ ไม่ผ่าน ไม่สามารถสอบประมวลความรู้ได้ จำนวน 2 คณะ คือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์
ทั้งนี้ ยังมีนักศึกษาบางรายที่ผ่านการเรียนครบถ้วนทุกรายวิชาในหลักสูตรแล้วและกำลังจะจบการศึกษาแต่ยังมีผลการสอบจัดระดับฯ “ไม่ผ่าน” จึงทำให้ไม่สามารถสอบประมวลความรู้ได้ หรือไม่สามารถจบการศึกษาได้ เพื่อประโยชน์และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสอบกรณีพิเศษ ดังนี้
(1) นักศึกษาจะต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติในการสมัครสอบประมวลความรู้
(2) นักศึกษาจะต้องเข้าทดสอบการสอบจัดระดับความรู้ฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
(3) เกณฑ์การคิดคะแนนผ่านในการจัดสอบกรณีพิเศษแต่ละครั้ง ให้นำคะแนนผ่านของการสอบย้อนหลังจำนวน 3 ครั้ง มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อให้เป็นเกณฑ์คะแนนผ่าน
(4) นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องขอสอบกรณีพิเศษผ่านคณะ เมื่อคณะตรวจสอบคุณสมบัตินักศึกษาตามข้อ (1) แล้วจึงทำบันทึกแจ้งรายชื่อไปยังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดำเนินการ
หลักสูตรที่ได้รับการยกเว้น
สถาบันได้มีประกาศสถาบันเรื่อง หลักสูตรที่ได้รับการยกเว้นการสอบจัดระดับความรู้ความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยแยกประเภทนักศึกษาที่ศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับการยกเว้น ตามประกาศของสถาบัน
1) หลักสูตรที่ได้รับการยกเว้นการสอบจัดระดับความรู้ความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์
คือนักศึกษาของคณะสถิติประยุกต์ซึ่งศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นไปตามประกาศสถาบันฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ดังนี้
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริการความเสี่ยง
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ
2) นักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรดังต่อไปนี้ จะได้รับการยกเว้นการสอบจัดระดับความรู้ ความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์ โดยมีเงื่อนไขตามประกาศสถาบันฯ คือเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติที่ศึกษาในหลักสูตรที่มีวิชาเอกทางคอมพิวเตอร์ หรือ หลักสูตรที่มีการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ และ/หรือวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือผ่านการสอบเทียบวิชา ตามหลักสูตร ต่อไปนี้ เป็นไปตามประกาศสถาบัน ลงวันที่ 22 มกราคม 2552 มีดังนี้
• หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
• หลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิต
• หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
• หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
• หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารเฉพาะนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนก่อนภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2552
สถิติจำนวนนักศึกษาที่เข้ารับการสอบจัดระดับฯและการเรียนเสริม
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดการสอบจัดระดับความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาปริญญาโท ภาคปกติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 จน ถึงปัจจุบัน รวม 7 ปี จำนวน 30 ครั้ง โดยมีนักศึกษาเข้ารับการสอบรวมทั้งสิ้น 2,538 คน ผ่านการทดสอบทั้งสิ้น 2,100 คน และมีนักศึกษาได้เข้าเรียนเสริมที่สำนักจัดขึ้น จำนวน 1,083 คน
สำนักได้เปลี่ยนจาก NIDA Smart Printing System (NIDA SPS) เป็น Self-Service Printing จาก Double A เรียกว่า Double A Fast Print เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา พรินต์ง่าย ได้ดังใจ
สั่งพรินต์ ผ่าน APP มือถือ Download Application : App Store (ios) และ Play Store (Android)
หรือผ่านเว็บไซต์บน PC : https://www.doubleafastprint.com
จ่ายเงินผ่านระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ Line Pay, True Money Wallet, K-Plus, Prompt pay, Credit & Debit Cards, Shopee Pay
จุดบริการภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พิกัด 4 จุดบริการพิมพ์
Download คู่มือการใช้งาน Double A Fast Print
ประชาสัมพันธ์ "คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน"
จากทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ link >>> https://www.nbtc.go.th/
download คู่มือ-Cyber-Security-สำหรับประชาชน
ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน ?ในกรณีที่ลืมรหัสผ่าน แต่สามารถจำข้อมูลที่ให้ไว้ในขณะที่ขอ NetID ได้ สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านทางเว็บไซต์ ที่นี่ หากจำข้อมูลไม่ได้ให้ติดต่องาน HelpDesk โทร. 02-727-3777-8 |
|
ยังไม่มี NetID ขอได้อย่างไร ?ขอผ่านเว็บไซต์ ที่นี่ ทั้งนี้ต้องเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคนั้นและได้ชำระค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ขอเพียงครั้งเดียวและสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง |
|
เมื่อไหร่ที่ต้องใช้ SSL VPN ?ใช้เมื่อต้องการเข้าถึงฐานข้อมูลห้องสมุด เมื่ออยู่นอกเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น |
|
ก่อนการใช้งาน SSL VPN ต้องทำอย่างไร ?กรณีนักศึกษาต้องใช้ NetID ส่วน เจ้าหน้าที่หรืออาจารย์ ใช้ email @nida.ac.th เพื่อเข้าใช้งาน VPNเข้าไปที่ URL https://vpn.nida.ac.th ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ SSL VPN ศึกษาได้จาก http://itc.nida.ac.th ที่เมนู “บริการสำหรับนักศึกษา” หัวข้อ “ SSL VPN” |
|
สามารถใช้ SSL VPN บน IPhone/IPAD ได้หรือไม่ ?ยังไม่สามารถใช้งาน SSL VPN ผ่านทาง IPhone/IPAD เนื่องจาก ระบบปฏิบัติการของ IPhone/IPAD ไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม JAVA Runtime Environment (JRE) ได้ |
|
NetID |
|
ทำไมต้องมี NetID ?นักศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จำเป็นต้องมี NetID ก็เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้ |
|
การลงทะเบียนสมัคร NetID หากระบบแจ้งว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง จะต้องทำอย่างไร ?ให้นักศึกษาติดต่อ Helpdesk ชั้น 9 อาคารสยามบรมราชกุมารี หรือ โทร. 0-2727-3777 เพื่อตรวจสอบข้อมูล และหากพบว่าข้อมูลในระบบขอ NetID ไม่ถูกต้องขอให้นักศึกษาติดต่อที่กองบริการการศึกษา เพื่อทำการแก้ไขข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จากนั้นให้นักศึกษารอประมาณ 1 ชม. เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องส่งจากระบบทะเบียนนักศึกษามายังระบบขอ NetID แล้วถึงจะสมัคร NetID ได้ |
|
หากลืม Password ต้องทำอย่างไร ?ไปที่ https://portal.nida.ac.th/ua/user_pwd_chng.htmเพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านโดยระบุข้อมูลสำหรับตรวจสอบและรหัสผ่านใหม่ที่ต้องการ |
|
ในการเปลี่ยนรหัสผ่าน ...หากลืมคำถามที่ใช้สำหรับเปลี่ยนรหัสผ่าน จะทำอย่างไร ?ให้นักศึกษานำบัตรนักศึกษามาติดต่อที่ Helpdesk ชั้น 9 อาคารสยามบรมราชกุมารี เพื่อสอบถามคำถามสำหรับที่เปลี่ยนรหัสผ่านที่เคยกำหนดไว้ |
|
NetID ของนักศึกษาใช้ได้ถึงเมื่อไร และหากต้องการใช้ต่อต้องทำอย่างไร ?• นักศึกษาสามารถใช้ NetID ได้จนถึงวันที่นักศึกษาจบการศึกษา หรือพ้นสภาพนักศึกษาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการลาออก หรือการให้ออก เป็นต้น |
|
หากเป็นศิษย์เก่าที่ไม่เคยมี NetID และต้องการขอใช้งาน NetID จะต้องทำอย่างไร และใช้บริการใดได้บ้าง ?ให้ศิษย์เก่าติดต่อที่สำนักบรรณสารเพื่อการพัฒนาและชำระเงิน 2,000 บาทต่อปี โดยจะสามารถใช้บริการของห้องสมุด บริการ Wi-Fi และ บริการ webmail ของสถาบันได้เท่านั้น เช่นกัน |
|
สอบถามข้อมูลและบริการเพิ่มเติม |
|